"ย้อนรอย ยลวิถี ถิ่นไทลื้อลำปาง”
วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม 2566 เวลา 18.00 น. ณ ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
นางสาวตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง กล่าวรายงาน ต่อ นายชัชวาลย์ ฉายะบุตร ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง ประธานเปิดงาน “ย้อนรอย ยลวิธี ถิ่นไทลื้อลำปาง” โดยมี นางวนิดา สัตยานุรักษ์ นายกสมาคมไทลื้อแห่งประเทศไทย สาขาจังหวัดลำปาง กล่าวต้อนรับ พร้อมทั้ง นางสุพรรณี ฉายะบุตร นายกเหล่ากาชาดจังหวัดลำปาง นายจรัสฤทธิ์ จันทรสุรินทร์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรลำปาง เขต 3 นายชลธานี เชื้อน้อย สภาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำปาง เขต 3 นางฉันทพัฒน์ โนปิง สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง อำเภอเมืองลำปาง เขต 6 นายธนาวุฒิ เป็งขวัญ สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง อำเภอแจ้ห่ม เขต 1 นายกฤศน์วัต ประสาน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง อำเภอเมืองปาน นายชาญณรงค์ มาเรียน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง อำเภอแม่ทะ เขต 2 นางธยานี ศรีโรจนกุล สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง อำเภอแม่เมาะ เขต 1 คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง นายกสมาคมไทลื้อจาก 6 จังหวัดภาคเหนือ หัวหน้าส่วนราชการ และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมงาน
ไทลื้อ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง พูดภาษาตระกูลไท อาศัยอยู่ในเขตสิบสองปันนา ทางตอนใต้มณฑลยูนานของจีน ต่อมาได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหัวเมืองต่างๆ ในล้านนา ปัจจุบันกระจายอยู่ในจังหวัดต่างๆ ในภาคเหนือของประเทศไทย ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย และพะเยา ในจังหวัดลำปาง ชาวไทลื้อได้อพยพเข้ามาในสมัยของเจ้าดวงทิพย์ เป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง ที่ตำบลกล้วยแพะ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ซึ่งมีอยู่ 7 หมู่บ้าน คือ บ้านกล้วยหลวง บ้านกล้วยหลวงพัฒนา บ้านกล้วยแพะ บ้านกล้วยม่วง บ้านหัวฝาย บ้านกล้วยกลาง ชุมชนประสพสุข นอกจากนี้ ยังมีไทลื้ออีก 2 หมู่บ้านในบริเวณใกล้เคียงกัน คือ บ้านแม่ปุง และบ้านฮ่องห้า ตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรม ภูมิปัญญาที่ดีงาม และวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธ์ไทลื้อ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง จึงได้บูรณาการร่วมกับ สมาคมไทลื้อแห่งประเทศไทย สาขาจังหวัดลำปาง จัดงาน “ย้อนรอยยลวิถี ถิ่นไทลื้อลำปาง” ภายใต้โครงการสืบสาน ศิลปะวัฒนธรรมไทลื้อขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนได้สืบสานอนุรักษ์ ขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมไทลื้อ
2. เพื่อเผยแพร่วิถีชีวิตไทลื้อ รู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ไทลื้อ
3. เพื่อสร้างความภูมิใจและจิตสำนึกในการรักษา ศิลปะ วัฒนธรรมของไทลื้อ
4. เพื่อส่งเสริมต่อยอดสู่ศูนย์การเรียนรู้และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน
โดยกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน ประกอบด้วยการจัดแสดงนิทรรศการภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธ์ไทลื้อ การแสดงศิลปะ วัฒนธรรม การจัดแสดงสินค้าภูมิปัญญาและวัฒนธรรม และการแข่งขันทักษะ อาชีพมัดหอม เป็นต้น



ข่าว : โภคิน ขาวนวล
ภาพ : โภคิน ขาวนวล
สามารถติดตามข่าวสารและข่าวย้อนหลังของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง