ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์

ยุทธศาสตร์ประกอบไปด้วย 6 ยุทธศาสตร์หลัก คือ

ยุทธศาสตร์ที่ 1    ส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม 

1  ส่งเสริมศักยภาพผู้สูงอายุ ให้มีหลักประกันความมั่นคงชีวิต หลักประกันทางสังคม การดูแลสุขภาพ และสร้างอาชีพและรายได้ ที่จำเป็นในการดำรงชีวิตหลังเกษียณ
2  ส่งเสริมสร้างศักยภาพให้ประชาชนทุกช่วงวัยมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ได้รับการพัฒนาอย่างสมดุล ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา และคุณธรรม มีโอกาสการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3  สนับสนุนการกระจายการลงทุนด้านสวัสดิการสังคมแก่ประชาชน ได้ทั่วถึง และเท่าเทียม
4  สนับสนุนการกระจายการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค เพื่อความสะดวกในการดำรงชีวิตแก่ประชาชนได้ทั่วถึงและเท่าเทียม
5  ส่งเสริมการสาธารณะสุขมูลฐาน ที่เน้นการดูแล ป้องกัน และ รักษา ให้กับประชาชน
6  พัฒนาและสนับสนุนการให้บริการการศึกษา กีฬา และวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มโอกาสให้แก่ประชาชนอย่างเท่าเทียม
7   สนับสนุนการเสริมสร้างชีวิตครอบครัวที่อบอุ่นด้วยการปลูกฝังศีลธรรมอันดีงาม
8   ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนและสังคมตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม เน้นการตระหนักรู้ถึงหน้าที่ สิทธิ และจิตสำนึกของการเป็นพลเมืองที่ดี
9   ส่งเสริมคุณภาพชีวิตในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 1

1 การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุทั้งกาย จิตใจ และสังคมอย่างสมดุล
2  การส่งเสริมให้ประชาชนทุกช่วงวัยได้รับสวัสดิการพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการได้รับการช่วยเหลือในกรณีเกิด สาธารณภัย
3  สนับสนุนให้ประชาชนได้รับบริการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีวิต อย่างมั่นคง ปลอดภัย
4  ส่งเสริมบริการสาธารณสุขมูลฐานให้กับประชาชนทั้งการแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนปัจจุบัน
5  ส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการศึกษา กีฬา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
6  สนับสนุนการเสริมสร้างชีวิต ครอบครัวอบอุ่น และห่างไกลยาเสพติด
7  ส่งเสริมการพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็ง แบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน
8  ส่งเสริมให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม

 

ยุทธศาสตร์ที่ 2    พัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อสร้างงาน สร้างรายได้ อย่างสมดุล 

1  สร้างกลไก สภาพแวดล้อม และส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน ให้กับประชาชนอย่างยั่งยืนด้วยการผสมผสานของอัตลักษณ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2  การเพิ่มมูลค่าการผลิตในภาคอุตสาหกรรม หัตถกรรมอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมชุมชน และครัวเรือน     บนพื้นฐานการออกแบบสร้างสรรค์ (Creative Design)
3  การเพิ่มมูลค่าภาคการเกษตร เกษตรปลอดภัย และเกษตรอินทรีย์ เน้นการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น นวัตกรรมและเทคโนโลยีร่วมสมัยที่เหมาะสม อาทิเช่น การเกษตรอัจฉริยะ โรงงานอัจฉริยะ และ เทคโนโลยีชีวภาพด้านอาหารและยา
4  สร้างกลไกและส่งเสริมการพาณิชย์และการลงทุน  เพื่อพัฒนาช่องทางการจำหน่ายสินค้าสู่ ตลาดในเขตจังหวัด ตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2

1.   ส่งเสริมพัฒนาศักยภาพของประชาชนเพื่อสร้างอาชีพ และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนแบบครบวงจร
2 .  ส่งเสริมพัฒนาการเป็นฐานการผลิตหัตถอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมชุมชน และอุตสาหกรรมครัวเรือน
3.1  พัฒนาและเพิ่มศักยภาพด้านเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์ และเกษตรอัจริยะแบบครบวงจร
3.2  พัฒนาศักยภาพ และถ่ายทอดองค์ความรู้ ด้านเกษตรอินทรีย์ และเกษตรอัจริยะแบบครบวงจร
4.    พัฒนาและส่งเสริมให้มีการกระจายสินค้าที่ผลิตในจังหวัดลำปางออกสู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ

 

ยุทธศาสตร์ที่ 3    ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีใหม่ 

1. พัฒนาการท่องเที่ยวที่มีลักษณะเป้าหมายเฉพาะ (Niche Tourism) ในด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค การบริหารจัดการ และการให้บริการคุณภาพสูง
2. พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีใหม่ (Community based tourism) ที่มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่มีศักยภาพสูง ให้ได้มาตรฐานสากล
3. สร้างการตลาดที่เน้นการเป็นหมุดหมายการท่องเที่ยว (Tourism Destination) และ แหล่งท่องเที่ยวแบบโลกเสมือนปลายทาง (Metaverse-Tourism)
4. พัฒนาคุณภาพระบบสนับสนุน และบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ที่ผสมผสานความโดดเด่นของวัฒนธรรม ที่ดีของชาวลำปาง

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3

1. ส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้เป็นแหล่งท่องเที่ยววิถีใหม่แหล่งท่องเที่ยวเป้าหมายเฉพาะ (Niche Tourism)
2. สร้างและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนวิถีใหม่ (Community-based tourism)
3. ส่งเสริมตลาดการท่องเที่ยวทั้งในระบบการเดินทางเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยวจริง การท่องเที่ยวโดยใช้เทคโนโลยีหรือ การท่องเที่ยวแบบโลกเสมือนปลายทาง (Metaverse-Tourism)
4. สร้างและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคทางการท่องเที่ยว
5. พัฒนาบุคลากรทางการท่องเที่ยว

 

ยุทธศาสตร์ที่ 4    พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม 

1. พัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งระดับพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงการสัญจร การท่องเที่ยว และการพัฒนาเมือง ได้อย่างประสิทธิผล
2. อนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งน้ำและทรัพยากรน้ำ เพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการผลิตในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม โดยคำนึงถึงสมดุลของระบบนิเวศ
3. ส่งเสริมการเข้าถึงการให้บริการด้านสาธารณูปโภค ของเมือง
4. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลตามเป้าหมายการพัฒนา ที่ยั่งยืน (SDG: Sustainable Development Goals)
5. สร้างความตระหนักรู้ และ สนับสนุนการสร้าง ความพร้อมปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 4

1. ก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาถนน สะพาน สายทางอื่น ๆ และความปลอดภัยทางถนน
2. ก่อสร้างแหล่งน้ำ/ระบบกระจายน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค
3. ติดตั้ง/บำรุงรักษาระบบไฟแสงสว่าง
4. อนุรักษ์/ฟื้นฟู/เฝ้าระวังและป้องกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

 

ยุทธศาสตร์ที่ 5    พัฒนา อบจ. ลำปาง ให้เป็นองค์กรคุณภาพ 

1. พัฒนาสมรรถนะบุคลากรทุกระดับงานให้มีคุณภาพสูง
2. ปรับปรุงสถานที่ทํางานให้ปลอดภัย และ มีเครื่องมือ อุปกรณ์ในการทำงานครบถ้วน
3. จัดระบบและวิธีการทํางานที่เหมาะสมและชัดเจน เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทํางาน
4. พัฒนางานองค์กรสัมพันธ์ เพื่อกระชับความร่วมมือในการทำงานร่วมกันพัฒนา คุณภาพชีวิตและการให้บริการสาธารณประโยชน์แก่ประชาชน
5. การเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง และ ภารกิจการถ่ายโอนงานสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
6. ส่งเสริมการป้องกัน บรรเทาสาธารณภัย และความสงบเรียบร้อย ให้กับประชาชนจังหวัดลำปางให้รวดเร็ว ทั่วถึง และ ทันเวลา

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 5

1. พัฒนาศักยภาพบุคลากรองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง
2. พัฒนางาน พัฒนาอาคารสถานที่ ตลอดจนเครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงานให้เพียงพอและพร้อมสำหรับการปฏิบัติงาน
3. จัดให้มีกิจกรรมองค์กรสัมพันธ์ เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างเครือข่ายองค์การบริหารปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนราชการ และองค์กรภาคประชาสังคม
4. บูรณาการการทำงานและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการปฏิบัติงาน

 

ยุทธศาสตร์ที่ 6    ปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล 

1. พัฒนาทักษะแก่ประชาชนทุกช่วงวัยและบุคลากรด้านการให้บริการการเข้าใช้งานแพลตฟอร์ม เทคโนยีดิจิทัล
2. ส่งเสริมระบบนิเวศ (Business Ecosystem) ด้านการออกแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (Creative Industrial Design) ควบคู่ไปกับแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัล
3. ส่งเสริมระบบนิเวศ และ แพลตฟอร์มการลงทุนแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Platform) สำหรับสินค้าชุมชน และ สินค้าของจังหวัดลำปาง สินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์
4. ส่งเสริมการเข้าถึงการให้บริการระบบรัฐบาลอิเล็คทรอนิส์ของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

กลยุทธ์/แนวทางการพัฒนา ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 6

1. พัฒนาความรู้ทักษะด้านแพลตฟอร์มเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online
2. ส่งเสริมความรู้การลงทุนการพัฒนาระบบนิเวศ และการออกแบบอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
3. ส่งเสริมความรู้การพัฒนาแพลตฟอร์มการตลาดดิจิทัล สำหรับชุมชน และ สินค้าที่ผลิตในจังหวัดลำปาง
4. ส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงบริการอิเล็กทรอนิส์ของรัฐ