พิมพ์

223578_0.jpg

โรคไข้ซิกา ( Zika virus disease )

ลักษณะของโรค โรคไข้ซิกา เกิดขึ้นโดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยังมีกระจายอยู่ในหลายทวีปทั่วโลก ประเภทของเชื้อ: Flavivirus พาหะนำโรค : ยุงลาย (ปกติออกหากินในช่วงเวลาเช้า บ่ายแก่ๆ และช่วงเย็น)

อาการของโรค ระยะฟักตัวของโรคไข้ซิกา ใช้เวลาประมาณ 3 - 12 วัน โดยมีอาการไข้ มี ผื่นแดง เยื่อบุตาอักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ อาการเหล่านี้ปกติแล้วจะเป็นเพียงเล็กน้อย และอาการจะเป็นอยู่ประมาณ 2 - 7 วัน

การติดต่อ เชื้อไวรัสซิกาสามารถแพร่เชื้อโดยยุงลายที่มีเชื้อ และไปกัดคน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในตระกูล Aedes aegypti ซึ่งมีอยู่ในภูมิภาคที่มีอากาศร้อนชื้น โดยยุงที่เป็นพาหะน าโรค ไข้ซิกา เป็นชนิดเดียวกันกับยุงที่เป็นพาหะของ โรคไข้เลือดออก โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ( Chikungunya) และไข้เหลือง

การป้องกัน สำหรับประชาชน

           ยุงและการขยายพันธุ์ของยุงเป็นสาเหตุและเป็นปัจจัยเสี่ยงของการติดต่อของโรคไข้ซิกา การป้องกัน และ การควบคุมโรค ขึ้นอยู่กับการลดจำนวนของยุงตามแหล่งต่างๆ การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ รวมถึงการป้องกันตนเอง ไม่ให้โดนยุงกัด ซึ่งสิ่งนี้สามารถทำได้โดย – ใช้ยากำจัดแมลง หรือ ยาทาป้องกันยุง - การสวมใส่เสื้อผ้าเนื้อหนาสีอ่อนๆ ที่สามารถคลุมผิวหนังและร่างกายได้ - อาศัย และนอนในห้องปรับอากาศ ใช้ฉากกั้น การปิดประตู ปิดหน้าต่าง การใช้มุ้ง – การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดย การทำความสะอาด การเทน้ำทิ้ง หรือครอบฝาภาชนะที่สามารถบรรจุ น้ำเช่น กระถางต้นไม้ เพื่อไม่ให้มีน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง · ถ้ามีอาการไข้ ออกผื่น ตาแดง หรือปวดข้อ อาจมีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์ ให้ปรึกษาแพทย์ 

ข้อมูลจาก  สำนักโรคติดต่ออุบัติใหม่ http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/th/home