28238144_2042436945796538_3612064367359449740_o.jpg

SWOT (เมืองปั่นได้ เมืองปั่นดี) ณ สวนสาธารณะหนองกระทิง

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 09.00 น. นายทองดี จอมวงศ์ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด ปฏิบัติหน้าที่นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง กล่าวต้อนรับผู้ร่วมโครงการส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ( เมืองปั่นได้ เมืองปั่นดี ) กิจกรรมวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ( SWOT ) ณ สวนสาธารณะหนองกระทิง อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง

28238898_2042420142464885_7109224036729666403_o.jpg

28238739_2042422739131292_2108030896686808526_o.jpg 28335995_2042422132464686_1357248285067947688_o.jpg 28336198_2042423519131214_2232881219493832218_o.jpg28336438_2042438482463051_6868248727929560621_o.jpg 28424904_2042423242464575_4440779936900421571_o.jpg 28424680_2042435739129992_4034389969950779439_o.jpg

ด้วยกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพร่วมกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ภายใต้โครงการ “เมืองปั่นได้ เมืองปั่นดี” โดยดำเนินการระที่ 1 ใน 13 จังหวัด และระยะที่ 2 ใน 11 จังหวัด สำหรับระยะที่ 3 ได้พิจารณาคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่จะดำเนินการ จำนวน 15 แห่ง ซึ่งองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางได้รับพิจารณาคัดเลือกให้เข้าร่วมการขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ระยะที่ 3

โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้อนุมัติทุนสนับสนุนโครงการส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน “เมืองปั่นได้ เมืองปั่นดี” แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางจำนวน 1 ล้านบาท ซึ่งในการส่งเสริมให้ประชาชนหันมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน มิอาจทำแค่เพียงการลงทุนด้านกายภาพและโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการใช้จักรยานดังกล่าวให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดให้มีกระบวนการเรียนรู้ถึงการใช้จักรยานอย่างปลอดภัย การขับเคลื่อนของภาคประชาสังคมเพื่อสร้างการรับรู้ต่อสาธารณะในประเด็นการใช้จักรยานในชุมชน รวมถึงการจัดการเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดความต้องการในการใช้จักรยานให้มากขึ้น

ดังนั้นในวันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2561 จึงได้จัดกิจกรรมวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ( SWOT ) เพื่อการดำเนินงานและผู้มีส่วนได้เสียจากการใช้จักรยาน โดยกลุ่มเป้าหมายได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ ประชาชน เอกชน ประชาสังคม โรงเรียน กลุ่ม/ชมรม และผู้ใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน เพื่อวิเคราะห์สถานกาณ์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ความเป็นไปได้ในการส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันได้อย่างยั่งยืน โดยมีวิทยากรผู้ร่วม ประกอบด้วย นางอรวรรณ จันทร์งาม อาจารย์ประจำสาขา วิทยาศาสตร์ แผนกวิชาสถิติ นายวัชรพงศ์ ศรีแสง อาจารย์ประจำสาขา วิทยาศาสตร์ แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ และนายศุภินันท์ จันมา อาจารย์ประจำสาขา วิทยาศาสตร์ แผนกวิชาคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาลำปาง

ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเพื่อผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายท้องถิ่น/จังหวัดในการส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการใช้จักรยานในชีวิตประจำวันตามแนวยุทธศาสตร์จักรยาน 3 ส. สร้างแรงจูงใจให้ประชาชนในท้องถิ่นมีความต้องการและหันมาใช้จักรยานในชีวิตประจำวันมากขึ้น สร้างกระบวนการเรียนรู้ของประชาชนและผู้ใช้รถใช้ถนนในท้องถิ่นให้รับรู้และตระหนักในสิทธิ์และการใช้ถนนร่วมกันบนท้องถิ่น จัดหาองค์ความรู้ด้านเทคนิควิชาการเพื่อการออกแบบและการจัดการเส้นทางจักรยานที่ได้มาตรฐานและปลอดภัย และสนับสนุนการจัดกระบวนการเพื่อการขยายผลและผลักดันนโยบายจักรยานภายในจังหวัดลำปาง.