Print
Category: เนื้อหาทั่วไป
Hits: 1587

                    1.  หน่วยตรวจสอบภายใน มีหน้าที่ในการสอบทานการปฏิบัติงานในส่วนราชการขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง โดยมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูล เอกสาร หลักฐาน ทรัพย์สิน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ โดยมีสิทธิที่จะขอเข้าทำการตรวจสอบทรัพย์สิน และกิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยรับตรวจ รวมทั้งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสังเกตการณ์ การสอบถาม และขอคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง   กับงานตรวจสอบ

                    2.  ให้คำปรึกษา และข้อเสนอแนะด้านการตรวจสอบตามมาตรฐานการตรวจสอบภายในของ       ส่วนราชการ ส่งเสริม สนับสนุน กำกับติดตามและพัฒนาการปฏิบัติงาน ด้านการตรวจสอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด

                    3.  หน่วยตรวจสอบภายในไม่มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย วิธีการปฏิบัติงาน และการจัดวาง หรือการแก้ไขระบบการควบคุมภายในของหน่วยรับตรวจ ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของหัวหน้าหน่วยงาน ผู้ตรวจสอบภายในมีหน้าที่เป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ

                    4.  ผู้ตรวจสอบภายในดำรงไว้ซึ่งความเป็นอิสระ ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียในกิจกรรมที่ตรวจสอบปราศจากการแทรกแซงในการปฏิบัติงาน และการเสนอความเห็นในการตรวจสอบของฝ่ายบริหาร หรือบุคคลหนึ่งบุคคลใด และไม่ควรเป็นกรรมการในคณะกรรมการใด ๆ ของส่วนราชการ หรือหน่วยงานในสังกัดอันมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระในการปฏิบัติงาน และเสนอความเห็น

                    ความรับผิดชอบ

                    หน่วยตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนด รวมทั้งรายงานผลการตรวจสอบ ให้ข้อมูลเชิงวิเคราะห์ ประเมินผล คำปรึกษา และข้อเสนอแนะตามมาตรฐานการตรวจสอบภายใน และจริยธรรมของผู้ตรวจสอบภายในของส่วนราชการตามที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังนี้

                    1.  จัดทำและเสนอแผนการตรวจสอบประจำปีต่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง โดยผ่านปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด พิจารณาอนุมัติภายในเดือน กันยายน

                    2.  ดำเนินการตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผลการปฏิบัติงานด้านการดำเนินงาน ด้านการบริหารจัดการ ด้านการเงินบัญชี ด้านการปฏิบัติตามนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และมติคณะรัฐมนตรีของหน่วยงานในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปางให้ถูกต้อง คุ้มค่า มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล พร้อมทั้งรายงานผลการตรวจสอบและให้ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาการปฏิบัติงานของหน่วยรับตรวจ

                    3. การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยรับตรวจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานท้องถิ่นจังหวัด สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลงานร่วมที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อส่วนราชการ

                    4.  ให้คำปรึกษาแนะนำ และให้ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานกิจกรรมต่าง ๆ การปฏิบัติงานด้านการเงินการบัญชี การปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และระบบการควบคุมภายในแก่หน่วยรับตรวจ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง

                    5.  สนับสนุน ส่งเสริม กำกับ ติดตามงานตรวจสอบภายในขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำปาง

                    6.  การจัดลำดับกิจกรรมที่จะตรวจสอบภายใต้ทรัพยากร และการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีสาระสำคัญ ดังนี้

                             6.1  การขาดข้อมูลทางการเงิน และการปฏิบัติงานที่ดี

                             6.2  การละเลยการปฏิบัติตามนโยบาย แผนงาน วิธีการปฏิบัติงาน และข้อกำหนดทางกฎหมาย

                             6.3  ทรัพย์สินสูญหายหรือเสียหาย

                             6.4  การไม่ประหยัดหรือไม่มีประสิทธิภาพของงาน

                             6.5  การปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่กำหนดไว้

 

                    7. พัฒนาบุคลากรผู้ตรวจสอบภายในให้มีความรู้ความชำนาญในด้านวิชาชีพการตรวจสอบภายในอย่างเพียงพอ